ศอ.บต. จัดหลักสูตร ความสำคัญของภาษาและวัฒนธรรมมลายูในสังคม 5 จชต. พร้อมดึงเข้าสู่ระบบการเรียนออนไลน์ให้กับผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ภาคใต้

     ปัจจุบันการสร้างความเข้าใจในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจกันหลายฝ่าย ทั้งฝ่ายปกครอง กระบวนการยุติธรรม การศึกษา ฯลฯ โดยมีพื้นฐานสําคัญประการหนึ่งคือ การเรียนรู้ทําความเข้าใจถึงความเป็นมาในอดีต ประวัติศาสตร์การเมืองการปกครอง สภาพเศรษฐกิจ และลักษณะสังคมท้องถิ่น ในปัจจุบันการศึกษา และทําความเข้าใจวิถีชีวิตอันประกอบด้วยขนบธรรมเนียมประเพณี การศึกษา คติความเชื่อซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สิ่งเหล่านี้มีปัจจัยพื้นฐานที่เป็นตัวกําหนด คือ ศาสนาอิสลาม ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการแก้ไขปัญหาควรศึกษาในเรื่องนี้ให้ลึกซึ้ง

     วันนี้ (25 ธ.ค.63) เวลา 13.30 น. ที่โรงแรมเซาท์เทิร์นวิว จ.ปัตตานี ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยสถาบันพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายพลเรือนจังหวัดชายแดนภาคใต้ นำโดย นายธีรวิทย์ เฑียรฆโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันฯและ จนท.สพจ. จัดอบรมหลักสูตรความสำคัญของภาษาและวัฒนธรรมมลายูในสังคม 5 จชต. โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านภาษามลายู  ศาตราจารย์ ดร.รัตติยา สาและ เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้เพื่อนำเสนอข้อมูลพื้นฐานให้เห็นความสำคัญของภาษาและวัฒนธรรมมลายู ในสังคม 5จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจถึงวิธีคิดและวิถีการดำรงชีวิตของชาวไทยในสังคมพหุวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และได้นำระบบการเรียนออนไลน์หรือระบบ E-Learning ผ่านระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ หรือ ระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ (Video Conference)

     โดยเจ้าหน้าที่สำนักงาน กพ. ได้บูรณาการร่วมกับ ศอ.บต.ให้กับ ผู้ที่เข้าร่วมโครงการปฐมนิเทศข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่นก่อนเริ่มปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รุ่นที่1 กว่า180 คนซึ่งหลังจากได้รับความรู้จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านภาษามลายูและเจ้าหน้าที่ ของสำนักงาน กพ. แล้วนั้น ผู้เข้าร่วมอบรมต้องเรียนหลักสูตรภาษามลายูที่ทางสำนักงาน กพ.ได้จัดทำรูปแบบไว้ ไม่ต่ำกว่า 5 ชม. ซึ่งจะมีการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรจากสำนักงาน กพ.ต่อไป โดยคาดว่า ในปีงบประมาณ 2565 ศอ.บต. จะจัดทำหลักสูตรการเรียนออนไลน์ในระบบ E-Learning  ในอีกหลายสาระวิชา เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาตนเองของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคต่อไป